จำหน่ายลวดสลิง

ลวดสลิงไส้เชือก (Fiber core: FC) แกนกลางอาจจะทำมาจากเส้นใยธรรมชาติหรือวัสดุสังเคระห์ ทำให้ลวดสลิงชนิดนี้มีความแข็งแรงน้อยกว่าลวดสลิงไส้เหล็ก แต่มีความยืดหยุ่นสูงกว่า เหมาะแก่การใช้งานที่ต้องการความอ่อนตัวและความยืดหยุ่นสูง ช่วยรองรับแรงค่าความเค้นที่เกิดจาก shock loads ได้ดีกว่าลวดสลิงไส้เหล็ก นอกจากนี้ยังป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนเนื่องจากไม่ดูดซับความชื้น และทนต่อสภาพกรดหรือด่างอ่อนๆได้

ลวดสลิงไส้เชือกที่ทางร้านจำหน่ายมีขนาด ดังนี้

2 มม. (6x7 + FC)
2.5 มม. (6x7 + FC)
3 มม. (6x7 + FC)
4 มม. (6x12 + FC)
5 มม. (6x12 + FC)
6 มม. (6x12 + FC)
8 มม. (6x12 + FC)
9 มม. (6x12 + FC)
10 มม. (6x12 + FC)
12 มม. (6x12 + FC)

ลวดสลิงไส้เหล็ก (Independent wire rope core: IWRC) จะมีแกนที่เป็นลวดสลิงเพิ่มความแข็งแรง มีความทนทานต่อการกระแทก การบีบอัด และการเสียรูป รวมถึงทนความร้อนได้มากกว่าลวดสลิงไส้เชือก แต่จะความยืดหยุ่นน้อยกว่าลวดสลิงไส้เชือก

ลวดสลิงไส้เหล็กที่ทางร้านจำหน่ายมีขนาด ดังนี้

1.2 มม. (1x12 , 7x7)
1.5 มม. (1x19 , 7x7)
2 มม. (1x19 , 7x7)
2.5 มม. (1x19 , 7x7)
3 มม. (1x19 , 7x7 , 7x19)
4 มม. (7x19 , 7x7)
5 มม. (7x19 , 7x7)
6 มม. (7x19 , 19x7, 6x37)
8 มม. (7x19 , 19x7, 6x37)
9 มม. (7x19 , 19x7, 6x37)
10 มม. (7x19 , 19x7, 6x37)
12 มม. (7x19 , 19x7, 6x37)
14 มม. (6x19 , 6x37)
16 มม. (19x7 , 6x37)
20 มม. (19x7 , 6x37)
25 มม. (8x25 , 6x37)

ลวดสลิงสแตนเลส (Stainless Steel Wire Rope) เหมาะสำหรับงานประดับตกแต่ง แสดงสินค้า งานที่เน้นความสวยงาม เนื่องจากลวดสลิงสแตนเลสมีความเงางาม อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าลวดสลิงชนิดอื่นๆ

ลวดสลิงสแตนเลส ที่ทางร้านจำหน่ายมีขนาด ดังนี้

0.4 มม. (1x19)
0.5 มม. (1x19)
0.6 มม. (1x19)
0.8 มม. (7x7)
1 มม. (7x7)
1.2 มม. (7x7)
1.5 มม. (7x7)
2 มม. (7x7 , 7x19)
3 มม. (7x7 , 7x19)
4 มม. (7x7 , 7x19)
5 มม. (7x19)
6 มม. (7x19)
8 มม. (7x19)
9 มม. (7x19)
10 มม. (7x19)
12 มม. (7x19)
16 มม. (7x19)
20 มม. (7x19)

ลวดสลิงหุ้มพลาสติก / ลวดสลิงหุ้ม PVC มีความทนทานต่อสนิม การกัดกร่อน มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถนำไปใช้กับงานก่อสร้าง, โรงเรือนเพาะปลูก, ขึงแสลน, งานที่อยู่ใกล้ทะเล, เรือขนส่งสินค้า, มอเตอร์, เครื่องมือที่เที่ยงตรงสูง รวมถึงงานประมง

ลวดสลิงหุ้มพลาสติก / ลวดสลิงหุ้ม PVC ที่ทางร้านจำหน่ายมีขนาด ดังนี้

ลวดสลิงไส้เหล็กชุบซิงค์หุ้มพลาสติก
2.5 มม. (7x7)
3 มม. (7x7)
4 มม. (7x7)
5 มม. (7x7)
6 มม. (7x19)
8 มม. (7x19)
10 มม. (7x19)
12 มม. (7x19)
ลวดสลิงสแตนเลสหุ้มพลาสติก
0.8 มม. (7x7)
1 มม. (7x7)
1.5 มม. (7x7)
2 มม. (7x7)
3 มม. (7x7)
5 มม. (7x7)

หจก.เจริญภัณฑ์โลหะกิจ นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทลวดสลิง โซ่ รอก ตะขอ สายพาน และอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ร่วมกัน เรามีสินค้าหลากหลายชนิดทั้งแบบเหล็ก ชุบสังกะสี ชุบตะกั่ว พลาสติก รวมถึงสแตนเลสทั้งเกรด 304 และ 316
เชิญเลือกดูสินค้าทั้งหมดของเราได้ที่นี่

ลวดสลิงสั่งทำพิเศษ

ความรู้เกี่ยวกับ ลวดสลิง

ลวดสลิง คือ กลุ่มของลวดเหล็กกล้าที่มีการตีเกลียวรอบแกนจนกลายเป็นเชือกลวด มีการใช้งานในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งก่อสร้าง ขนส่ง เรือ เหมือง เช่น ทำสลิงสำหรับขึงยึดสะพาน ขึงลิฟท์ ปั้นจั่น รอก เครน รถยก เรือประมง ทำรั้ว บันได ลวดยึดโครงหลอดไฟ นอกจากนี้บางส่วนจะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายเบรกจักรยาน ที่คล้องประตู หรือประดับตกแต่งสถานที่ เป็นต้น

ลวดสลิงประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ลวดเหล็กกล้า (wire), ลวดตีเกลียว (strand) และแกน (core)

ซึ่งจำนวนเส้นลวดของลวดตีเกลียวแต่ละเกลียวของลวดสลิงจะแตกต่างกัน ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยลวดสลิงจะระบุเป็นจำนวนเกลียวของลวดตีเกลียว และบอกถึงจำนวนลวดเหล็กกล้าในลวดตีเกลียวแต่ละเกลียว เช่น 6x19 หมายถึง ลวดสลิงที่มีจำนวนลวดตีเกลียว 6 เกลียว และในแต่ละเกลียวจะประกอบด้วยลวดเหล็กจำนวน 19 เส้น

ส่วนประกอบ ลวดสลิง

แกนของลวดสลิง

แกนของลวดสลิง จะทำหน้าที่รักษารูปทรงของลวดสลิงให้กลม และรักษาให้ลวดตีเกลียวอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในระหว่างการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่แกนที่เลือกใช้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ

  1. แกนที่เป็นลวดสลิง (Independent wire rope core: IWRC) แกนที่เป็นลวดสลิงจะเพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านทานต่อการกระแทก และต้านทานต่อความร้อนได้สูงที่สุด ซึ่งการใช้งาน IWRC จะใช้เป็นแกนขนาดเล็ก สำหรับผลิตลวดสลิงขนาดใหญ่
  2. แกนที่เป็นลวดตีเกลียว (Wire strand core: WSC) จะมีความต้านทานต่อความร้อนมากกว่าแกนที่เป็นไฟเบอร์ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเชือกลวดประมาณ 15% แต่ทำให้มีความยืดหยุ่นที่น้อยกว่าแกนที่เป็นไฟเบอร์
  3. แกนที่เป็นไฟเบอร์ (Fiber core: FC) หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า สลิงไส้เชือก ส่วนใหญ่ใช้เป็น polypropylene (PP) หรือ polyvinylchloride (PVC) ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือเพิ่มให้ความยืดหยุ่น (flexibility) ให้สูงขึ้น และช่วยรองรับแรงค่าความเค้นที่เกิดจาก shock loads นอกจากนี้ยังป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนเนื่องจากไม่ดูดซับความชื้น และทนต่อสภาพกรดหรือด่างอ่อนๆได้
นอกจากนี้แล้วยังมีแกนลวดสลิงอื่นๆอีก ที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล ISO 17893:2004

ลวดสลิง แกน IWRC
Independent Wire Rope Core (IWRC)
ลวดสลิง แกน WSC
Wire Strand Core (WSC)
ลวดสลิง แกน FC
Fiber Core (FC)
ลวดสลิง มาตรฐาน ISO 17893:2004

การวัดขนาดลวดสลิง

การวัดขนาดลวดสลิง

เกลียวของลวดสลิง

จะมีการออกแบบลักษณะการตีเกลียวประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

  1. ทิศทางของการตีเกลียว (lay direction for rope) โดยมีทั้งการตีเกลียวทางซ้าย และทางขวา
  2. ทิศทางของลวดในลวดตีเกลียวแต่ละเกลียว (type of rope lay) ซึ่งโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ
    • แบบตีเกลียวธรรมดา (regular lay) ซึ่งลวดจะเรียงตัวตรงไปตามความยาวของลวดสลิง (ลวดวางตัวในแนวที่ขวางกับทิศทางการตีเกลียว) การเรียงตัวแบบนี้ทำให้มีโอกาสเกิดรอยแตก (kink) น้อย และมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากแรงกระชาก หรือการบิดตัวก็จะน้อยด้วย ลวดสลิงแบบนี้ถูกนำไปใช้งานหลากหลายที่สุด โดยจะมีความสามารถต้านทานต่อแรงกระแทก (crushing) มากกวางแบบแลงส์ และจะไม่มีการบิดตัวในขณะที่ใช้งานภายใต้แรงกระทำที่รุนแรง เมื่อปลายข้างหนึ่งของลวดสลิงไม่ได้ถูกยึดให้อยู่กับที่
    • แบบแลงส์ (lang's lay) ซึ่งลวดจะเรียงตัวทำมุมขวางกับแนวตามยาวของลวดสลิง (ลวดวางในแนวเดียวกับทิศทางของการตีเกลียว) ลวดสลิงแบบนี้มีข้อได้เปรียบที่สำคัญ 2 ประการ คือ จะมีความต้านทานต่อความล้า และการสึกหรอจากจากเสียดสีในขณะใช้งานที่ดีกว่าลวดสลิงแบบธรรมดา (regular lay) และเนื่องจากบริเวณพื้นที่ผิวของลวดเหล็กแต่ละเส้นมีมากกว่า ดังนั้นเวลาที่อยู่ภายใต้สภาวะการใช้งานที่ลวดสลิงต้องถูกดัดโค้งจึงมีแรงดัดโค้งมากระทำน้อยกว่า ดังนั้นจะพบว่าลวดสลิงแบบแลงส์จะมีความยืดหยุ่นดีกว่า และมีอายุการใช้งานภายใต้สภาวะที่มีแรงดัดโค้งมากระทำเป็นหลักได้นานกว่าแบบธรรมดาประมาณ 15-20% แต่มีโอกาสที่เกิดรอยแตกมากกว่า และทนต่อแรงกระแทกได้น้อยกว่าแบบธรรมดา

เกณฑ์การเลือกใช้งานลวดสลิง

  • ความแข็งแรงต่อแรงดึง (Tensile strength) เป็นค่าความแข็งแรงที่ทนต่อแรงดึงสูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเชือกลวดเมื่อใช้งาน โดยค่าความแข็งแรงนี้จะถูกคำนวณ และเลือกใช้โดยเผื่อค่าไว้ ซึ่งเรียกว่า safety factor
  • ความแข็งแรงต่อการกระแทก (Crushing strength) เป็นคุณสมบัติที่สำคัญต่อความต้านทานแรงอัด และแรงบิด ซึ่งจะเกิดขึ้นกับหน้าตัดของลวดสลิงในระหว่างการใช้งาน เช่น ลูกรอก (sheaves), กว้าน (hoist drums) ลูกกลิ้ง (rollers) ขณะที่เกิดแรงกระทำมาก ซึ่งรูปแบบของเชือกลวดแบบ regular lay จะมีคุณสมบัตินี้ดีกว่าแบบ lang lay
  • ความต้านทานต่อความล้า (Fatigue resistance) เป็นคุณสมบัติที่ทนต่อการดัดโค้ง และการบิดงอของลวดสลิงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะใช้งานลูกรอก และกว้าน คุณสมบัตินี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใช้งานลวดสลิงด้วยความเร็วสูง ซึ่งรูปแบบของเชือกลวดแบบ lang ray จะมีคุณสมบัตินี้ดีที่สุด และการใช้ลวดเหล็กขนาดเล็กที่ด้านนอกของเกลียวเชือกลวดจะทำให้มีคุณสมบัตินี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากลวดตีเกลียวจะสามารถยืดหยุ่นได้มาก
  • ความต้านทานต่อการสึกหรอ (Abrasive resistance) เป็นความสามารถในการทนต่อการสึกหรอของโลหะด้านนอก ขณะลวดสลิงวิ่งผ่านลูกรอก และกว้าน โดยอัตราของการสึกหรอส่วนใหญ่ขึ้นกับแรงกดที่เกิดจากลวดสลิง และความเร็วในการเคลื่อนที่ โดยทั่วไปคุณสมบัตินี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ชนิดของโลหะและขนาดของลวดเหล็กที่อยู่ชั้นนอกของเชือกลวด โดยการเลือกใช้ลวดที่มีความแข็งแรงสูง และลวดที่มีขนาดใหญ่จะทำให้มีคุณสมบัตินี้สูงกว่าการใช้ลวดเหล็กขนาดเล็ก
  • ความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion resistance) เป็นคุณสมบัติที่ทนต่อการละลายของเนื้อโลหะจากการกัดกร่อนทางเคมีจากความชื้นในบรรยากาศ หรือสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน โดยเชือกลวดที่ใช้กับงานที่อยู่กับที่ (static work) อาจจะป้องกันโดยการทาสี หรือสารเคลือบอื่นๆ และยังมีการใช้สังกะสีเคลือบด้วย นอกจากนี้ลวดสลิงที่ใช้กับเครนส่วนใหญ่จะใช้สารเคลือบที่เป็นทั้งสารหล่อลื่น และตัวป้องกันการกัดกร่อน

การทำความสะอาด และหล่อลื่นลวดสลิง

การเคลือบสารหล่อลื่นให้กับลวดสลิง มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อลดการสึกหรอที่เกิดจากการเสียดสี และการกัดกร่อนในขณะใช้งานลวดสลิง โดยหากเกิดแรงเสียดทานจากการกัดกร่อนหรือสารหล่อลื่นไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ลวดสลิงมีอายุการใช้งานลดลง สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการกัดกร่อนจะอันตรายมากกว่าความเสียหายที่เกิดจากการสึกหรอ เนื่องจากการกัดกร่อนทำให้ตัวลวดสลิงเสียหายภายใน ซึ่งตรวจสอบได้ยาก ขณะที่การสึกหรอสามารถตรวจสอบได้ที่ผิวภายนอกจากขนาดของลวดสลิงที่แบนลง และเส้นผ่าศูนย์กลางลดลง

ก่อนทำการเคลือบสารหล่อลื่นให้กับลวดสลิง ควรทำความสะอาดก่อน เพื่อขจัดฝุ่น และสิ่งแปลกปลอม รวมถึงสารหล่อลื่นเดิมที่สะสมอยู่ออกก่อน เพื่อให้สามารถเคลือบสารหล่อลื่นใหม่ลงไปได้ โดยใช้แปรงลวดที่จุ่มตัวทำละลาย (solvent) ขัดออก แล้วเป่าด้วยลม หรืออบด้วยไอน้ำ สำหรับการเคลือบสารหล่อลื่นใหม่ทำได้ทั้งวิธีจุ่มในอ่าง สเปรย์ ฯลฯ

ข้อควรระวังในการเคลือบสารหล่อลื่น คือ ไม่ควรให้มีสารหล่อลื่นมากเกินไป โดยเฉพาะกับอุปกรณ์เครื่องชักรอก เนื่องจากสารหล่อลื่นเหล่านี้อาจจะไหลเข้าไปที่เบรค หรือคลัชท์ และทำให้เกิดความเสียหาย และในระหว่างการทำงานของเครื่องจักร เช่น เครน สารหล่อลื่นที่มากเกินไปอาจไหลลงบนทางเดิน และทำให้เกิดอันตรายได้

การหล่อลื่นลวดสลิง

ข้อควรระวังในการใช้ลวดสลิง

  • ควรเก็บลวดสลิงไว้ในที่แห้ง และควรหลีกเลี่ยงการเก็บลวดสลิงไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง
  • ห้ามนำสลิงที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ หรือเสียหายมาใช้งาน
  • ห้ามทำการลากหรือถู ลวดสลิง กับ ของมีคม
  • ห้ามใช้สลิงรับน้ำหนักเกินค่าพิกัดน้ำหนักที่กำหนดไว้ (Working Load Limit or Rated Capacity)
  • ห้ามใช้สิ่งของที่มีน้ำหนักวางทับลงบนลวดสลิงโดยตรง เพราะจะทำให้ลวดสลิงเกิดการงอและคืนตัวได้ไม่ดี
  • ไม่ควรใช้งานด้วยวิธีการลักษณะกระชากหรือกระตุก (Shock Loading)
  • กรณีที่วัสดุมีความแหลมคมที่ขอบมุมต่างๆ ควรมีการรองด้วยวัสดุต่างๆเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับลวดสลิง

ตัวอย่างลวดสลิงที่เสียหาย มีสภาพไม่สมบูรณ์ ไม่ควรนำมาใช้งาน ลวดสลิง เสียหาย สภาพไม่สมบูรณ์

ติดต่อเรา

เกรียงไกร

08-1852-2442

นฤมล

08-9831-9139
moll24

บุศรา

08-9968-2219
bud28

เรายินดีน้อมรับคำแนะนำของลูกค้า
เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริการของเราให้ดียิ่งขึ้น
หากท่านมีข้อสงสัย พบปัญหา หรือต้องการแนะนำ
กรุณาติดต่อเราได้ ที่ช่องทางดังนี้

หจก. เจริญภัณฑ์โลหะกิจ / บวรโลหะพาณิชย์
ที่อยู่: 72-74 ถนนตรีมิตร แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์
กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์:   02-639-0508-9
โทรสาร:   02-235-7947
Email:   [email protected]
  [email protected]
Facebook:   Page / Account
Website: www.jrpsteel.com
LINE:   @jrpsteel